วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความ เชื่อ เรื่อง รอย สัก




สักยันต์ ไม่มีคำปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แต่เป็นการสมาสของคำว่า สัก และคำว่า ยันต์

สักหมายถึงการใช้เหล็กแหลมจุ่มหมึกหรือน้ำมันแทงที่ผิวหนังให้เป็นอักขระ เครื่องหมาย หรือลวดลาย
ถ้าใช้หมึก เรียกว่า สักหมึก ถ้าใช้น้ำมัน เรียกว่า สักน้ำมัน

ยันต์หมายถึงรูปต่างๆ ที่เขียนลงบนแผ่นโลหะหรือผ้า และลงอักขระหรือเลข เพื่อใช้เป็นของขลัง

การสักยันต์ไม่มีประวัติความเป็นมาที่แน่นอน คาดกันว่าอาจมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เพื่อเป็นการทำเครื่องหมายแสดงหลักฐาน เช่น สักข้อมือ แสดงว่าได้ขึ้นทะเบียนเป็นชายฉกรรจ์ หรือเป็นเลกมีสังกัดกรมกองแล้ว หรือการสักหน้าเพื่อแสดงว่าเป็นผู้ที่ต้องโทษปาราชิก
ก่อนจะพัฒนานำความเชื่อทางไสยศาสตร์เข้ามารวมไว้ เป็นการสักเพื่อความแข็งแกร่งของจิตใจ และอยู่ยงคงกระพัน
การสักยันต์เพื่อให้อยู่ยงคงกระพันนั้นปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน และวรรณกรรมอื่นๆ
การสักต้องมีพิธีกรรมหลายอย่าง เช่น ก่อนสักจะต้องไหว้ครู ในการสักจะต้องประกอบด้วยการร่ายเวทมนตร์
อาจารย์สักแต่ละคนจะมีรูปแบบของลวดลายเป็นของตนเอง และผู้ต้องการสักสามารถเลือกลายได้ตามต้องการ ส่วนมากจะเป็นสัตว์ในเทพนิยาย และเป็นอักขระขอม หรือเลขยันต์ อาจจะสักลายทั้งสามประเภทผสมกัน
ปัจจุบันการสักยันต์เสื่อมความนิยมไปมาก เนื่องจากได้รับอิทธิพลความเชื่อมาจากชาวตะวันตก ที่มองผู้ที่มีลายสักว่าส่วนใหญ่มักเป็นขี้เมา คนจรจัด เป็นนักเลง และคนชั้นต่ำ
คนเมืองมีความรู้สึกว่าลายสักเป็นวัฒนธรรมของคนบ้านนอกคนไม่มีการศึกษา ทำให้ศิลปะบนผิวหนังประเภทนี้เกือบจะสูญไป
แต่คนบางกลุ่มยังคงความเชื่อดั้งเดิมเอาไว้ เช่น
สัญลักษณ์บางอย่างของลายสักสามารถทำหนังเหนียวได้ ศัตรูยิงไม่ออก ฟันไม่เข้า
หรือช่วยให้รอดพ้นจากสถานการณ์อันเลวร้าย
ลวดลายที่นิยมในบรรดาผู้สักลายที่ให้ผลทางไสยศาสตร์แบ่งเป็น 2 ชนิด คือเพื่อผลทางเมตตามหานิยม มักจะสักเป็นรูปจิ้งจก หรือนกสาริกา เพื่อให้มีเสน่ห์เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป ให้ผลดีทางการเจรจา ค้าขายทำให้เจริญรุ่งเรืองทำมาค้าขึ้น
การสักลายเพื่อผลทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี จะนิยมลวดลายซึ่งเป็นตัวแทนความดุร้ายปราดเปรียว ความสง่างาม ความกล้าหาญ ได้แก่ ลายเสือเผ่น หนุมานคลุกฝุ่น หงส์ และลายสิงห์
ส่วนลายที่เปรียบเสมือนเกราะป้องกันภยันตราย เช่น เก้ายอด ยันต์เกราะเพชร หรือลายยันต์ชนิดต่างๆ
แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นแก่นแท้ของการสักเพื่อผลทางไสยศาสตร์ และถือกันว่าเป็นหัวใจของการสัก คือ คาถาที่กำกับลวดลายสัก
อาจารย์สักแต่ละคนจะถือเป็นเคล็ดลับ ไม่เปิดเผยให้แก่ผู้ใดเป็นอันขาด นอกจากลูกศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้รับถ่ายทอดวิชาสืบต่อไป
นอกจากนั้น ยังมีผู้นิยมสักเพื่อความสวยงาม มีลวดลายขึ้นอยู่กับความต้องการหรือรสนิยมของผู้สัก เช่น รูปผู้หญิงเปลือย ผีเสื้อ ดอกไม้ หัวใจ ฯลฯ
บอกนิสัยใจคอของผู้สัก หรือบอกอดีตความประทับใจ ที่ต้องการประทับตราไว้กับตัวตลอดไป
เช่น ชื่อคน ชื่อประเทศ วันเดือนที่สำคัญ เป็นต้น

--------------------------

** ศิลปะแห่งความเชื่อ

- รูป สักยันต์หรือสักคาถา
- ความเชื่อ อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัย นิยมในกลุ่มนักรบชายไทย สมัยอดีตนับร้อยปี ปัจจุบันยังมีชายไทยและต่างชาตินิยมสักยันต์คาถาอยู่บ้าง ตามความเชื่อของแต่ละคน

- รูป หนุมาน
- ความเชื่อ มีพลังอำนาจมหาศาล ฟันแทงไม่เข้า อยู่ยงคงกระพัน เป็นลายสักที่นิยมมากในหมู่ชาวตะวันตก

- รูป เสือ
- ความเชื่อ มีอำนาจ ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม มีพละกำลังคงทนต่อศาสตราวุธ

- รูป มังกร
- ความเชื่อ นิยมในกลุ่มคนเชื้อสายจีน เชื่อว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภของชาวจีน การสืบทอดตระกูลของคนจีน

- รูป ลิงลม
- ความเชื่อ ว่องไว เฉลียวฉลาดดุจพญาวานร

5 ตำแหน่งยอดนิยมบนเรือนกาย
ชาย อันดับ 1 หัวไหล่ ไล่มาถึงบริเวณกล้ามแขน
อันดับ 2 บริเวณแขน
อันดับ 3 ข้างใบหู
อันดับ 4 แผ่นหลัง
อันดับ 5 หน้าขา

หญิง อันดับ 1 ท้องน้อย
อันดับ 2 หน้าอก
อันดับ 3 สะโพกด้านหลัง ก่อนถึงบั้นท้าย
อันดับ 4 แผ่นหลัง
อันดับ 5 ข้อเท้า


กระแสโลก วัฒนธรรมรอยสัก

ไทย
รอยสักมีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามความเชื่อว่า การสักยันต์บนร่างกายของชายไทยในยุคนั้น ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากศาสตราวุธ อยู่ยงคงกะพัน ความเชื่อดังกล่าวถูกถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันภาพลักษณ์ของผู้ที่นิยมสักในสังคมไทยไม่ค่อยได้รับการยอมรับนัก พวกที่นิยมสักตามร่างกายจะถูกมองว่าเป็นนักเลงหัวไม้ หรือโจร อาชญากร

ญี่ปุ่น
แดนอาทิตย์อุทัย ถือเป็นแหล่งแฟชั่นรอยสักที่มีประวัติมาช้านาน มีการค้นพบว่ามีอายุถึง 5,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช การสักในอดีตถูกใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อชี้ตัวอาชญากร และผู้ที่ถูกเนรเทศ ซึ่งจะสักบนแขนรูปกากบาท

ฮาวาย
ชนพื้นเมืองของฮาวาย ใช้ลวดลายจากธรรมชาติมาใช้ในการสัก เช่น ฟันฉลาม, หอยเม่น ลวดลายการสักของฮาวายมักมีความหมายลึกซึ้ง มีความหมายเฉพาะตัว

มาเลเซีย
ชาวบอร์เนียว เป็นชนเผ่าทางประเทศมาเลเซีย ที่มีประวัติการสักมานานนับพันปี การสักแบบใช้เข็มจุ่มหมึก ตอกไปบริเวณเนื้อ เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ดำรงสืบต่อมา และยังเป็นที่นิยมของการสักจวบจนปัจจุบัน

9 ความคิดเห็น:

  1. เลิศมากค่ะเพื่อนสาว

    รากมากนะพี่บิ้วนะ

    ตอบลบ
  2. อยากสักบ้างเนาะ



    มันจะน่ากลัวป่าว

    ตอบลบ
  3. ร้ายกาจเน้อ

    ฮ่าๆๆ
    นึกว่าสาวที่ไหน ฮ่าๆๆ

    ตอบลบ
  4. น่ารัก ๆ ๆ ๆ เหมือนคนทำเลย อิอิ เเวะมาทักทายจ้า

    ตอบลบ
  5. ชอบ ทอมจิงๆๆ เลยนะ

    ร้ายกาด

    ตอบลบ
  6. ป่าๆ...ไปสักกันดีกว่าป่ะ

    ^^

    ตอบลบ